บทที่ 6 
   
        การสร้างแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย
 1. การสร้างแอนิเมชั่น (Animation) ประกอบสไลด์  
 
                 การสไลด์แอนิเมชั่นเป็นการออกแบบสไลด์และองค์ประกอบต่างๆ บนสไลด์ให้เคลื่อนไหวการเคลื่อนไหวของวัตถุที่อยู่ภายในแผ่นสไลด์  
์          และการเคลื่อนไหวระหว่างการเลื่อนสไลด์    
   
 1.1   การสร้างข้อความและวัตถุให้เคลื่อนไหว  
 
                 การทำให้ข้อความและวัตถุเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ เรียกว่า  " การสร้างความเคลื่อนไหว "  
          เพราะเป็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ บนแผ่นสไลด์ มีหลักที่จะต้องคำนึงถึง คือ    
           1. วิธีการปรากฏขึ้นของวัตถุ    
           2. วิธีการปรากฏขึ้นของกลุ่มวัตถุ    
           3. วัตถุหรือข้อความอันดับที่สองจะแสดงออกมาในลักษณะใด    
           4. มีการใช้เสียงประกอบระหว่างการเคลื่อนไหวหรือไม่    
           5. หลังจากวัตถุเคลื่อนไหวจบแล้วจะแสดงผลอะไรต่อไป    
            การสร้างข้อความและวัตถุให้เคลื่อนไหว มีขั้นตอนการทำอย่างง่าย โดยใช้โครงร่างเคลื่อนไหว ดังนี้  
           1. เลือกสไลด์ที่ต้องการจะทำให้เคลื่อนไหว    
           2. ที่ทาสก์ คลิกคำสั่ง การออกแบบภาพนิ่ง หรือคลิกเมาส์ที่ปุ่ม ออกแบบภาพนิ่ง   
       (                            )           บนทูลบาร์จัดรูปแบบจะปรากฏทาสก์เพนการออกแบบภาพนิ่งขึ้นมา
   
           3. คลิกที่ตัวเลือก โครงร่างการเคลื่อนไหว
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
          4. จะได้ลักษณะการเคลื่อนไหวที่บานหน้าต่างงาน    
          5. คลิกเลือก การเคลื่อนไหวที่ต้องการ ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ เช่น ปรากฏ ( Appear ) ชัดขึ้นพร้อมกัน ( Fade in all ) และหลอมรวม  
       (Dissolve in ) เป็นต้น    
          6. เมื่อคลิกเลือกรูปแบบเคลื่อนไหวแล้ว สไลดืจะแสดงตัวอย่างให้เห็นทันที    
          7. คลิกที่คำสั่ง นำไปใช้กับภาพนิ่งทั้งหมด ที่ทาสก์เพน เพื่อใช้การเคลื่อนไหวแบบนี้กับสไลด์ทุกแผ่น    
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
          8. คลิกปุ่ม เล่น เพื่อแสดงสไลด์     
 
 
 
   
   
   
   
   
   
          9. ชมสไลด์จริงโดยคลิกที่ปุ่ม การนำเสนอภาพนิ่ง ที่ทาสก์เพนหรือที่มุมมองการนำเสนอภาพนิ่ง  
        10. คลิกเมาส์บนแผ่นสไลด์เพื่อนำเสนองานจนครบทุกสไลด์    
   
1.2   การกำหนดการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง  
              การเคลื่อนไหวด้วยโครงร่างเคลื่อนไหวเป็นการเคลื่อนไหวกับทุกๆ ออบเจ็กต์บนสไลด์   
ต่ในบางครั้งผู้ใช้ต้องการให้ออบเจ็กต์เพียงบางอย่าจึงต้องกำหนดการเคลื่อนไหวเองให้    
เหมาะสมกับงาน ซึ่งมีขั้นตอนการทำ ดังนี้     
         1. คลิกเลือกวัตถุบนสไลด์    
         2. คลิกเลือกที่คำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง บนทาสก์เพน    
         3. หรือคลิกขวาที่วัตถุ แล้วเลือกคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง บนเมนูลัด  
 
 
   
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
       4. คลิกที่ตัวเลือก เพิ่มลักษณะพิเศษ จะได้ตัวเลือกเคลื่อนไหว ดังนี้   
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
     ตัวเลือกที่กำหนดมาให้ คือ    
          - เข้า ( Entrance ) กำหนดวิธีการปรากฏขึ้นของวัตถุบนสไลด์     
          - ตัวเน้น ( Empasis ) เปลี่ยนวัตถุขณะแสดงบนสไลด์     
         - จบการทำงาน ( Exit ) กำหนดวิธีการจบของสไลด์    
        - เส้นทางการเคลื่อน ( Motive Paths ) กำหนดเส้นทางหรือกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุบนสไลด์   
       5. คลิกเลือก เข้า จะได้ตัวเลือกย่อยแล้วเลือกคสั่งย่อยมี 5 แบบ เช่น กล่อง    
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
       6. คลิกเลือก ตัวเน้น จะได้ตัวเลือกย่อย 5 แบบ เช่น ปั่น  
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
7. คลิกเลือก จบการทำงาน จะได้ตัวเลือกย่อย 5 แบบ เช่น ลอยออก  
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
8. คลิกเลือก เส้นทางการเคลื่อนที่ จะได้ตัวเลือกย่อย 6 แบบ เช่น เลือกขวา หรือเลือกคำสั่ง   
วาดเส้นทางแบบกำหนดเอง       ซึ่งจะมีลักษณะเส้นให้เลือกหลายแบบ    
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
       9. เลือกเสร็จแล้ว จะมีตัวเลือกต่างๆ ขึ้น ที่บานหน้าต่างงาน    
      10. ถ้ามีวัตถุหลายอันที่จะทำการเคลื่อนไหว ก็สามารถได้ด้วยวิธการเดียวกัน โดยในแต่ละอันจะมีหมายเลขการเคลื่อนไหวกำกับไว้  
   เช่น 1...2...4 เป็นต้น     
 
 
   
   
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
 
 
 
 
   
      11. คลิกปุ่ม เล่น หรือ การนำเสนอภาพนิ่ง เพื่อดูภาพเคลื่อนไหว    
   
 1.3    กำหนดลักษณะพิเศษเพิ่มเติม    
                  1. คลิกที่ตัวเลือก เข้า ตัวเน้น หรือ จบการทำงาน เลือก ลักษณะพิเศษเพิ่ม    
                  2. จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ เพิ่มลักษณะพิเศษเข้า ดังนี้    
   
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
                  3. คลิกเลือกลักษณะพิเศษแบบใดแบบหนึ่งแล้วคลิก ตกลง    
                  4. คลิกเลือก เส้นทางการเคลื่อนที่ จะมีคำสั่งย่อย เพิ่มเส้นทางเคลื่อนไหว     
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
                 5. คลิกเลือกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งเสร็จแล้วคลิก ตกลง    
                 จะได้การตั้งค่าการเคลื่อนไหวตามที่กำหนด เมื่อคลิกปุ่ม การนำเสนอภาพนิ่ง     
            จะได้ภาพเคลื่อนไหว     
   
1.4     การกำหนดการเริ่มต้นและทิศทางการเคลื่อนไหว  
               1. การกำหนด เริ่ม : เป็นการกำหนดให้เริ่มแสดงการเคลื่อนไหว มี 3 ตัวเลือก คือ เมื่อคลิก กับก่อนหน้านี้ หลังก่อนหน้านี้   
 
 
   
   
 
 
 
 
 
               2. กำหนด เส้นทาง : การเคลื่อนไหว   
 
 
 
   
   
   
   
   
   
 
              3. กำหนด ความเร็ว : ของการเคลื่อนไหว 5 แบบ   
                                 
 
   
 
 
 
 
 
 
 
              4. กำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหว แต่ละแบบโดยคลิกที่มุมขวาของแต่ละตัวเลือก  
              5. คลิกที่คำสั่ง ตัวเลือกลักษณะพิเศษ.. จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ ดังนี้  
                     
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                 - ลักษณะพิเศษ ตั้งค่าหมุน และเพิ่มเสียง เป็นต้น    
                 - การกำหนดเวลา การเริ่ม และการหมุน เป็นต้น    
              6. คลิกที่แท็บ ลักษณะพิเศษ จะมีตัวเลือก ดังนี้ (เลือก เน้น เป็นแบบที่ 2 ปั่น)    
                 - การตั้งค่า          เป็น  360 องศา หมุนตามเข็มนาฬิกา แบบกลับอัตโนมัติ หมุนทวนเข็มนาฬิกา ฯลฯ  
                 - สิ่งที่เพิ่มเติม     เพิ่มเสียง เช่น เสียงปรบมือยินดี ฯลฯ หลังจากการเคลื่อนไหว เลือกตัวเลือก เช่น สีต่างๆ   
                                           การเคลื่อนไหวข้อความ เลือกแบบทีละตัวอักษร    
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
              7. เสร็จแล้วคลิก ตกลง     
              8. คลิก การนำเสนอภาพนิ่ง เพื่อชมสไลด์    
              9. ถ้าเป็นการเคลื่อนไหวข้อความ จะมีแท็บ การเคลื่อนไหวข้อความ  
 
 
   
   
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
           10. เลือกคำสั่ง จัดกลุ่มข้อความเป็นแบบ เป็นวัตถุเดียว หรือแบบอื่นๆ   
           11. คลิก ตกลง    
1.5     การทำแผนภูมิและไดอะแกรมให้เคลื่อนไหว  
      การทำแผนภูมิและไดอะแกรมให้เคลื่อนไหว มีบทบาทสำคัญต่อการดึงดูดความสนใจของผู้ชม    นิยมใช้แสดงความเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับระยะเวลา
               การทำแผนภูมิและไดอะแกรมให้เคลื่อนไหวมีหลักการ ดังนี้    
        -  เป็นวัตถุเดียว    แผนภูมิทั้งหมดจะเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียวเมื่อเปิดสไลด์ หรือเมื่อคลิกเมาส์    
       -  ตามชุด            แผนภูมิที่มีข้อมูลหลายชุด เช่น กราฟเส้นหลายเส้น กำหนดให้เคลื่อนไหวที่ละชุดได้    
        -  ตามประเภท    ข้อมูลชุดนั้นๆ แสดงขึ้นมาพร้อมกัน    
        -  ตามองค์ประกอบในชุด      แยกข้อมูลแต่ละชุดเป็นส่วนๆแล้วกำหนดการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนนั้นๆ    
        -  ตามองค์ประกอบในประเภท      แต่ละองค์ประกอบของประเภทข้อมูลปรากฎขึ้น    
                การทำให้แผนภูมิและไดอะแกรมเคลื่อนไหว มีวิธีการทำ ดังนี้    
        1. สร้างแผนภูมิใหม่ คลิกเลือกแผนภูมิหรือไดอะแกรม
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
        2. คลิกขวาที่แผนภูมิใหม่ แล้วเลือกคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง...บนเมนูลัด    
        3. บนทาสก์เพน คลิกปุ่ม เพิ่มลักษณะ... แล้วคลิกคำสั่งย่อย เข้า > ลอยเข้า     
      4. หรือเลือกเคลื่อนไหวพิเศษอื่น คลิกที่ เข้า > ลักษณะพิเศษเพิ่ม    
                  
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
        5. เลือกแบบการเคลื่อนไหวที่ต้องการ    
 
        6. คลิกที่ ดร็อปดาวน์ลิสต์ เลือกคำสั่ง ตัวเลือกลักษณะพิเศษ    
        7. คลิกที่แท็บ การเคลื่อนไหวแผนภูมี      
     
   
   
 
   
   
   
   
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
        8. กำหนด จัดกลุ่มแผนภูมิ เป็น ตามชุด แล้วคลิก ตกลง    
        9. คลิก การนำเสนอภาพนิ่ง สังเกตผลลัพธ์     
   
 1.6        การทำไฟล์ .GPF เคลื่อนไหว ( Animated GIF)  
                  ไฟล์ เคลื่อนไหว ์.GPF เป็นไฟล์ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่แล้ว ซึ่งนิยมใช้บนเว็บไซตืต่างๆสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้  
          ค้นหาได้ โดยพิมพ์คำว่า "free animated gif " บน search engine เช่น www.google.co.th ก็จะพบภาพ .gif    
         จำนวนมาก เช่น www.gifanimation.com  www.animationfactory.com  www.fif.net ฯลฯ
 
   
                  โดยปกติไฟล์ภาพเคลื่อนไหว gif บนสไลด์ มีขั้นตอนการทำ ดังนี้    
          1. เปิดงานนำเสนอหน้าที่ต้องการใส่ภา พเคลื่อนไว้ gif    
          2. คลิกคำสั่ง แทรก > รูปภาพ>จากแฟ้ม... หรือ ทูลบาร์ แทรก รูปภาพ ที่ทูลบาร์รูปวาด    
 
 
 
 
 
          3. เลือกภาพที่ต้องการ แล้วคลิก แทรก   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
          4. คลิกที่ปุ่ม การนำเสนอภาพนิ่ง ภาพจะเคลื่อนไหวตามไฟล์ต้นฉบับ  
          5. ผู้ใช้สามารถปรับแต่งภาพได้เหมือนภาพเคลื่อนไหวอื่นๆ   
2.การใช้มัลติมีเดียกับงานนำเสนอ  
 
     2.1. การแทรกเสียงและดนตรี  
            ใน powerpiont สามารถนำเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงพิเศษต่างๆ เช่น ปรบมือ เครื่องพิมพ์ดีด  
     และคลิกเมาส์ เป็นต้น มาประกอบการนำเสนอได้    
             การแทรกไฟล์เสียง มีขั้นตอนการทำ ดังนี้    
        1. เปิดสไลด์ที่ต้องการแทรกไฟล์    
        2. เลือกคำสั่ง  แทรก > ภาพยนต์และเสียง (insert > Movie and Sounds)    
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
       3. เลือกมัลติมิเดียจากเมนูย่อย    
            3.1. เลือกคำสั่ง  เสียงจาก Click Organizer.. จะได้ตัวเลือกไฟล์เสียงที่ทาสบาสบาร์ด้านขวามือของจอภาพ คลิกที่ไอคอน  
     ไฟล์เสียงที่จะแทรก จะได้กรอบสำหรับกำหนดการเริ่มเล่นเสียง
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
                   คลิกตัวเลือก เมื่อคลิก จะเกิดไอคอนลำโพงเล็กๆ ที่แผ่นสไลด์ คลิกและลากรูปลำโพง ไปวางยังตำแหน่งใดๆ บนสไลด์  
      และคลิกตรงลำโพงเมื่อต้องการเล่นเสียง      
   
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
            3.2. เลือก เสียงจากแฟ้ม (File) จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์  แทรกเสียง คลิกเลือกไฟล์ในช่อง มองหาใน: เลือก เอกสารของฉัน     
     แล้วเลือกไฟล์เสียงที่ต้องการ  เสร็จแล้วคลิก ตกลง ดับเบิลคลิกที่ไอคอนลำโพงเพื่อเล่นเสียง    
 
 2.2. การควบคุมการเล่นเสียง  
             เมื่อแทรกไฟล์เสียงในสไลด์แล้ว ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการเล่นเสียงได้ โดยมีตัวเลือก คือ    
         -  เล่นดนตรีหรือเสียงก่อนหรือหลังการเคลื่อนไหวอื่นๆ    
         -  เล่นดนตรีอัตโนมัติหรือเมื่อคลิกเมาส์ที่ไอคอนลำโพง    
         -  นำเสนองานสไลด์แผ่นอื่นๆ ไปเรื่อยๆ ขณะเล่นเสียงและดนตรี    
         -  สามารถเล่นเสียงแบบวนซ้ำได้    
         -  ซ่อนไอคอนลำโพงได้    
            การควบคุมการเล่นเสียง  มีวิธีการทำ ดังนี้    
        1. คลิกขวาที่ไอคอนลำโพง    
        2. เลือกคำสั่ง   การเคลื่อนไหวกำหนดเอง    
        3. คลิกปุ่มคำสั่ง  เพิ่มลักษณะพิเศษ เลือกคำสั่งย่อย แสดงเสียง แล้วเลือกคำสั่ง เล่น    
   
 
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     4. คลิกที่ดร็อปดาวน์ที่ทาสก์บาร์แล้วเลือกคำสั่งย่อย  ตัวเลือกลักษณะพิเศษ  
 
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
        5. จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ เล่นเสียง  
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
        6. คลิกที่แท็บ ลักษณะพิเศษจะได้ตัวเลือกย่อย    
             เริ่มต้นการเล่น เลือกแบบ                      ตั้งแต่เริ่มต้น    
                                                                       จากตำแหน่งสุดท้าย    
                                                                       ตั้งแต่เวลา...วินาที      
            หยุดเล่น  เลือกแบบ                               เมื่อคลิก    
                                                                       หลังจากภาพนิ่งปัจจุบัน    
                                                                       หลังจาก...ภาพนิ่ง    
            ตั้งค่าเสียง   มีตัวเลือกย่อย คือ               ระดับความดังของเสียง  คลิกที่ลำโพง แล้วปรับระดับเสียง  
                                                                       ซ่อนขณะที่ไม่มีการเล่น    
       7. คลิกที่แท็บ กำหนดเวลา   เพื่อกำหนดเวลาในการเล่น  โดยมีตัวเลือก คือ    
                     เริ่มต้น                                        เมื่อคลิก    
                                                                       ดับก่อนหน้านี้    
                                                                      หลังภาพนิ่งก่อนหน้า    
        8. คลิกเลือกตัวเลือกต่างๆ แล้วคลิก ตกลง     
   
   
 
ถัดไป
ย้อนกลับ
แบบทดสอบบทที่ 6