การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

บทที่2 การจัดวางองค์ประกอบ
ในการออกแบบหรือดีไซน์ และจัดวางองค์ประกอบในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกชนิด มีหลักการสำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาอยู่ 6 ประการ คือ
1. สัดส่วนหรือพร็อบพอร์ชั่น
คือการกำหนดขนาดและสัดส่วนของงานที่ทำการผลิต โดยเฉพาะงานชิ้นแรกที่จะทำการผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการจัดวางองค์ประกอบย่อยอื่น ๆ การกำหนดกรอบของขอบเขตหรือขนาดของสิ่งพิมพ์ สัดส่วนเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะใช้สในการกำหนดขนาดของสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่สามารถใช้ในการกำหนดสัดส่วนของขนาดองค์ประกอบย่อย ๆ ส่วนอื่น ๆ ในสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีกด้วย
2. ความสมดุลหรือบาลานซ์
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ องค์ประกอบย่อย ๆ ที่อยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์ถูกจัดวางให้มีน้ำหนักเท่กัน ทำให้เกิดความรู้สึกสมดุลแก่คนดูหรือผู้ที่มองน้ำหนักดังกล่าวเกิดขึ้นจากรูปร่าง สี และความเข้มจาง หรือองค์ประกอบภายในผลงานนั้น ๆ
3.ความแตกต่างหรือคอนทราสท์
การสื่อความหมายโดยทั่วไปย่อมจะต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการเน้นมากกว่าสืวนอื่น ๆ นอกจากจะเป็นการแสดงความสำคัญแล้ว ยังทำให้สิ่งที่ต้องการแสดงนั้น มีความน่าสนใจมากขึ้น การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ ถ้าไม่เน้นให้เห็นความแตกต่ง งานก็จะดูไม่น่าใจ
4. ลีลาจังหวะหรือริทึ่ม
หมายถึง การเคลื่อนไหวที่มีความซ้ำและต่อเนื่องกันเป็นระยะ ๆ และจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ กัน ทำให้เกิดรูปร่าง ขนาด รูปลักษณะต่าง ๆ กันออกไป
5. ความมีเอกภาหรือยูนิตี้
เป็นการนำเอาองค์ประกอบซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ เข้ามาจัดวางเพื่อให้สื่อสิ่งพิมพ์สามารถสื่อความหมายตามความต้องการนั้น จะต้องพิจารณาให้องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพอีกด้วย
6. ความผสมกลมกลืนหรือฮาร์โมนี
ความพอดีเหมาะสมของส่วนประกอบต่าง ๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งพิมพ์ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความผสมกลมกลืนจะพอได้จากลักษณะขององค์ประกอบในเรื่องของสี รูปร่าง และลักษณะของตัวอักษร
